วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552

สมาชิกตกมัน


เริ่มเลย....


1. ท่านรองฯ ทรงวุฒิ
















2. ท่านรองฯ สุพจน์ (เฒ่าตกมัน)
















3. อ.ปิยะ ( พ่อน้องเนิร์ส น้องไนซ์)

















4. อ.ตาร์ ( คนใต้ ไทเลย)
















5. อ.ต่อ ( Thai German)



















6. อ.ไก่ ( พ่อน้องแคมป์)

















6. เติ้ล-แอนนี่



ขออภัยที่อาจจะยังไม่ครบทุกท่าน : อยู่ระหว่างดำเนินการค่ะ

Man Utd LOGO

โลโก้ทีมโปรดของ webmaster ^^
(ขออภัยแฟนหงส์ สิงห์โต ปืน และ อื่นๆ ) 55555


















logo manchester united logo ManUtd โลโก้แมนยู โลโก้ผีแดง RedDevil






Nuclear Technology

รังสีที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์

รังสี คืออะไรทุกวันนี้เมื่อพูดถึงรังสี ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไป ว่าเป็นพลังงานรูปหนึ่ง หรือเป็นอนุภาคบางอย่างที่ปลดปล่อยออกมาจากนิวเคลียร์ หรืออะตอมโดยตาเปล่า เราไม่สามารถมองเห็น หรือจับต้องรังสีได้ แต่โดยเครื่องมืออุปกรณ์เฉพาะเราสามารถตรวจวัดรังสีได้ ว่าเป็นรังสีอะไร มีปริมาณเท่าไร เป็นอันตรายต่อมนุษย์หรือไม่
รังสีชนิดต่างๆรังสีแอลฟา บีตา แกมมา และนิวตรอน เป็นรังสีหลักๆ ที่พบโดยทั่วไป แหล่งกำเนิดของรังสีเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติ เช่น จากสารรังสีใต้พื้นโลก และอนุภาคจากอวกาศ และส่วนน้อยมาจากการประดิษฐ์ของมนุษย์ เช่น จากเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ เครื่องอนุภาค และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ประเภทของรังสีแบ่งได้ ชนิด คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อนุภาคที่มีประจุ และอนุภาคที่ไม่ประจุ
-รังสีเอกซ์และรังสีแกมมาจัดอยู่ในกลุ่มรังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า-รังสีบีตา โพซิตรอน อิเล็กตรอน แอลฟา โปรตอน ไอออนหนักจัดอยู่ในกลุ่มรังสีที่เป็นอนุภาคที่มีประจุ -นิวตรอนจัดเป็นรังสีที่เป็นอนุภาคแต่ไม่มีประจุ
รังสีอยู่ที่ไหน รังสีมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะในอากาศ น้ำ พื้นดิน ใต้พื้นดิน หรือแม้แต่นอกโลกใบนี้ของเรา ดังนั้นมนุษย์ไม่มีโอกาสหลบเลี่ยงการรับรังสีได้ เพราะแม้แต่ในร่างกายของเราเองก็มีรังสีสะสมอยู่มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และอากาศที่หายใจของแต่ละบุคคลว่ามีรังสีสะสมอยู่มากน้อยเท่าใดรังสีเกิดขึ้นได้อย่างไรรังสีเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการเกิดจักรวาลของเรา ดวงอาทิตย์ อวกาศ และโลก เมื่อเกิดขึ้นก็เช่นดวงอาทิตย์กับสสารอื่นๆ มีการสสายตัวไปตามกาลเวลา แต่รังสีมีการสลายตัวที่ค่อนข้างมีกฎเกณฑ์แน่นอน เวลาที่ใช้ในการสลายตัวไปจนเหลือครึ่งหนึ่งตั้งต้น เรียกว่า ครึ่งชีวิต และคุณสมบัตินี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะของสารรังสีแต่ละชนิด สารรังสีที่มีอายุสั้นเมื่อเกิดขึ้นมาในยุคเดียวกันกับโลกก็สลายตัวหมดไป จะเหลืออยู่เฉพาะประเภทอายุยาวเท่านั้นที่คงเหลือมาจนปัจจุบันนี้ เช่น โพแทสเซียม ยูเรเนียม ทอเรียม รูบิเดียม
นอกจากรังสีที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดโลกใบนี้แล้ว มนุษย์บนพื้นโลกยังได้รับรังสีจากนอกโลกตลอดเวลารังสี คอสมิค จากดวงอาทิตย์ เมื่อเข้าสู่อวกาศและบรรยายกาศของโลกก็ก่อให้เกิดนิวไคลด์ ซึ่งเป็นประเภทมีรังสีมากมายหลายชนิดที่รู้จักกันดี เช่น คาร์บอน ตริเตรียม เบอริลเลียม ฯลฯ และอนุภาคต่างๆ เช่นโปรตรอน ฯลฯ

มนุษย์ได้รับรังสีอย่างไรมนุษย์ได้รู้รับรังสีจากการรังสีของสารรังสีมาสู่ร่างกาย และในเมื่อรังสีมีอยู่ทั่วไปในดิน น้ำ อากาศ อาหาร ดังนั้น ไม่ว่าจะนั่ง เดิน ยืน นอน เราก็จะได้รังสีตลอดเวลา ทั้งอยู่ในบ้านหรือนอกบ้านแม้กระทั่งการเดินทางโดยเครื่องบินก็ยังได้รับรังสีและเป็นปริมาณค่อนข้างมากจากรังสีคอสมิค ยิ่งบินสูงยิ่งได้รับรังสีมากขึ้น ไปพบแพทย์ตรวจร่างกายก็ได้รังสีเอกซ์ โดยการ เอกซเรย์ หรือได้รับสารไอโซโทปรังสีจากการตรวจและวินิจฉัยโรค
รังสีน่ากลัวหรือไม่เมื่อท่านอยู่กับรังสีรอบตัวตลอดเวลาเช่นนี้ ท่านยังจะกลัวรังสีหรือไม่ ขอบอกท่านว่าท่านไม่ต้องกลัว เพราะท่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย ท่านจะต้องอยู่กับรังสีตั้งแต่เกิดจนตาย และการได้รับรังสีจากธรรมชาติรอบตัวนั้น นับเป็นแหล่งในการได้รับรังสีของมนุษย์มากที่สุดมากกว่าการทดสอบระเบิดปรมาณู หรือจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เสียอีก
อยากรู้จักรังสีมากขึ้นทำอย่างไรหาความรู้ ความเข้าใจ จากหน่วยงานที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรังสีที่มีอยู่หลายแห่งในประเทศไทย และ ที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ก็มีกลุ่มงานเฝ้าตรวจกัมมันตภาพรังสี ที่สามารถให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องรังสีแก่ท่านได้ ยังมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะใช้ตรวจสอบตรวจวัดรังสีในสิ่งแวดล้อมของท่าน ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อากาศ อาหาร พืชผักต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมให้บริการเพื่อความปลอดภัยทางรังสีของประชาชนทั่วไป
ผลที่อาจเกิดจากรังสี ผลที่อาจเกิดจากรังสี คือผลของรังสีที่มีโอกาสเกิดผลกระทบเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณรังสีที่ได้รับ เช่น โอกาสของการเกิดมะเร็งหรืออิทธิพลทางพันธุกรรมเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับปริมาณรังสีสูงขึ้น

การทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จัดเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนชนิดหนึ่ง มีหลักการทำงานคล้ายคลึงกับโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิง โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น สามารถแบ่งส่วนการทำงานได้ 2 ส่วน คือ ส่วนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ จะใส่แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ไว้ในน้ำภายในโครงสร้างปิดสนิท และให้ความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยาฟิชชันไปต้มน้ำผลิตไอน้ำแทนการผลิตไอน้ำจากการสันดาปเชื้อเพลิงชนิดที่ก่อให้เกิดก๊าซมลพิษ และส่วนผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนที่รับไอน้ำจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แล้วส่งไปหมุนกังหันผลิตไฟฟ้า ซึ่งส่วนนี้เป็นองค์ประกอบของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทุกชนิด หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แสดงได้ดังรูป ปฏิกิริยาฟิชชันในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะให้ความร้อนออกมาอย่างมหาศาล โดยเชื้อเพลิงยูเรเนียมที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเท่าแท่งชอล์กหนักประมาณ 20 กรัม จะให้ความร้อนเทียบเท่ากับน้ำมัน 1 ตัน ทั้งนี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จะใช้แท่งเชื้อเพลิงปีละประมาณ 27 ตัน สามารถผลิตไฟฟ้าเทียบเท่าการใช้น้ำมันปีละประมาณ 2.6 ล้านตัน

การใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในภาวะปกติจะมีผลกระทบทางรังสีน้อยมาก เนื่องจากสารรังสีที่เกิดขึ้นจะถูกกักเก็บไว้ภายในระบบการทำงานที่มิดชิด ซึ่งเมื่อเทียบกับการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดเดียวกัน พบว่า การใช้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จะทำให้ประชาชนได้รับรังสีน้อยกว่าโรงงานไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 1.5 เท่า เนื่องจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมีการสันดาปปลดปล่อยฝุ่นละอองที่มีสารกัมมันตรังสีในธรรมชาติปะปนอยู่ให้ฟุ้งกระจายสู่สิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และระเบิดปรมาณูต่างมีหลักการทำงานโดยใช้ปฏิกิริยาฟิชชันเดียวกัน แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่สามารถเกิดการระเบิดได้เหมือนกับระเบิดปรมาณู เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมชนิดความเข้มข้นต่ำ ทำให้ปฏิกิริยาฟิชชันเกิดขึ้นได้ช้า และมีขีดจำกัด หากปล่อยให้ปฏิกิริยาฟิชชันเกิดขึ้นโดยไม่มีการควบคุม เช่น อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เซอร์โนบิล ความร้อนที่ทยอยเกิดขึ้นจะทำให้เชื้อเพลิงยูเรเนียมแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และหยุดปฏิกิริยาฟิชชันลง ก่อนที่จะขยายความรุนแรงออกไป การระเบิดที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการระเบิดของไอน้ำความดันสูง ขณะที่ระเบิดปรมาณูนั้นใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมความเข้มข้นสูง สามารถเกิดปฏิกิริยาเคมี สามารถเกิดปฏิกิริยาฟิชชันได้อย่างรวดเร็วและมีการใช้ระเบิดทางเคมีเข้าช่วย เพื่อผลักดันให้ยูเรเนียมรวมตัวกันคงสภาพเดิมอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง จนกระทั่งปฏิกิริยาฟิชชันเกิดขึ้นอย่างรุนแรง และต่อเนื่องเป็นการระเบิดขึ้น


การจัดหาเชื้อเพลิงยูเรเนียม

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดกำลัง 1,000 เมกกะวัตต์ ในการเดินเครื่องครั้งแรกจะต้องใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมประมาณ 100 ตัน ซึ่งผลิตมาจากแร่เชื้อเพลิงยูเรเนียมประมาณ 590 ตัน หลังจากนั้นต้องเติมเชื้อเพลิงยูเรเนียมใหม่ทุกๆ ปี ประมาณปีละ 27 ตัน ซึ่งผลิตมาจากแร่ยูเรเนียมในธรรมชาติ 160 ตัน ในปี พ.ศ.2546 แหล่งผลิตแร่ยูเรเนียมที่สำคัญ ได้แก่ แคนาดา(28.0%) ไนจีเรีย (8.9%) คาซัคสถาน(8.2%) เชอร์เบติสถาน (7.9%) รัสเซีย (7.0%) ออสเตรเลีย (6.9%) และประเทศอื่นๆ (33.1%) รวมทั้งหมด 25 ประเทศในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตแร่ยูเรเนียมของโลกได้อยู่ในสภาวะตกต่ำ เนื่องจากราคาแร่ยูเรเนียมลดลง ส่งผลให้ต้องมีการลดกำลังการผลิต โดยปริมาณการผลิตแร่ยูเรเนียมในปี พ.ศ.2546 มีเพียงร้อยละ 54 ของปริมาณความต้องการทั้งหมด ทำให้ต้องมีการนำแร่ยูเรเนียมมาสำรองมาทดแทน โดยประมาณการว่าทั่วโลกมีปริมาณแร่ยูเรเนียมสำรองประมาณ 88 ปี (ปริมาณสำรองถ่านหิน 220 ปี น้ำมัน 40 ปี ก๊าซธรรมชาติ 60 ปี) ทั้งนี้ไม่รวมถึงปริมาณที่ใช้สำรองในทางทหาร ซึ่งอาจจะมีปริมาณมากกว่าหลายเท่า และการสกัดเชื้อเพลิงเก่ากลับมาใช้ใหม่



การจัดการกากกัมมันตรังสี


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดก๊าซมลพิษต่างๆ เหมือนกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ เนื่องจากการใช้ปฏิกิริยาฟิชชันในการผลิตความร้อนแทนการสันดาปของเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดกำลัง 1,000 เมกกะวัตต์ ในแต่ละปีจะมีกากกัมมันตรังสีจากการดำเนินงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่นการทำความสะอาดระบบอุปกรณ์ต่างๆ กระดาษหรือวัสดุที่ใช้กรองสารกัมมันตรังสีประมาณ 200- 600 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นกากกัมมันตรังสีที่มีระดับรังสีต่ำ และปานกลางสามารถสลายตัวหมดสภาพลงได้อย่างรวดเร็ว กากกัมมันตรังสีเหล่านี้ จะผ่านกรรมวิธีบำบัดให้มีปริมาตรลดลง และจัดเก็บไว้ให้สลายตัว จนไม่เป็นสารกัมมันตรังสี นอกจากนี้ ยังมีเชื้อเพลิงใช้แล้ว ปีละ 27 ตัน ซึ่งภายในเชื้อเพลิงส่วนใหญ่ประกอบด้วยเชื้อเพลิงเดิมที่เหลืออยู่ และมีพลูโตเนียมซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชนิดใหม่เกิดขึ้น โดยมีกากกัมมันตรังสีประมาณ 1- 2 ตัน ซึ่งมีระดับรังสีสูง และใช้เวลาสลายตัวนานนับหมื่นปี

การจัดการกากกัมมันตรังสีเหล่านี้ดำเนินการโดยเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วไว้ภายในอาคารเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเป็นการชั่วคราวเพื่อปล่อยให้เย็นลง ซึ่งสามารถจัดเก็บได้ตลอดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้า เป็นเวลาถึง 50 ปี หรืออาจนำไปเก็บไว้ภายนอกอาคารซึ่งได้ก่อสร้างสถานที่เก็บไว้โดยเฉพาะภายในอาณาเขตของเครื่องใช้ไฟฟ้า



เมื่อมีเชื้อเพลิงใช้แล้วปริมาณมากพอ หรือเลิกดำเนินกิจการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชื้อเพลิงใช้แล้วจะนำไปเก็บไว้ในสถานที่เก็บกากกัมมันตรังสีถาวร เช่น นำไปเก็บในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นลึกลงไปใต้ดินประมาณ 0.5-1 กม เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปล่อยให้สลายตัวไปจนกระทั่งมีระดับเท่ารังสีธรรมชาติ นอกจากนี้ ก่อนที่จะนำเชื้อเพลิงใช้แล้วไปเก็บไว้ในสถานที่เก็บกากกัมมันตรังสีถาวรอาจนำไปแยกสกัดเพื่อนำเชื้อเพลิงกลับมาใหม่ โดยให้เหลือเฉพาะกากกัมมันตรังสี ซึ่งผ่านกระบวนการลดปริมาตรและแปรสภาพเป็นของแข็ง เช่น ในรูปของผลึกแก้ว ทำให้สามารถจัดเก็บได้สะดวกยิ่งขึ้น และมีความคงทนต่อการสึกกร่อนป้องกันการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดกำลัง 1,000 เมกะวัตต์ในแต่ละปี จะมีกากกัมมันตรังสีซึ่งผ่านการแปรสภาพแล้วดังกล่าวเพียง 3 ลูกบาศก์เมตร



โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กับประชาสังคม



ปัจจุบันประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเริ่มโครงการต่างๆ ของรัฐบาลสำหรับในกรณีของโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็เช่นเดียวกัน ในประเทศที่ประสบความสำเร็จในโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้มีการจัดให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณาการดำเนินโครงการตั้งแต่เริ่มโครงการก่อสร้าง การเดินเครื่อง และการรื้อถอนหลังจากเลิกใช้งาน นอกจากนี้ ด้านความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบการดำเนินโครงการได้ จะทำให้โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับของสังคมการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เนื่องจากทั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และระเบิดปรมาณู ใช้ปฏิกิริยาฟิชชั่นเป็นต้นกำเนิดพลังงานความร้อนเช่นเดียวกัน ดังนั้น การให้ความรู้และความเข้าใจกับประชาชนย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นประการแรก การที่จะให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะแถบยุโรป ได้กำหนดให้หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเพื่อเพิ่มความเชื่อถือ และทำให้มีความมั่นใจในโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพของรัฐในงานกำกับดูแลความปลอดภัยด้วย

การควบคุมความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างปลอดภัย และหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัย มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล และให้ข้อมูลกับสาธารณชนในแง่ของบทบาทในการเสริมสร้างความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ให้แก่สาธารณชน ซึ่งการสร้างความเชื่อมั่นดังกล่าวต่อประชาชนต้องประกอบด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์และถูกต้องในทุกๆด้าน นอกจากนี้ ในกรณีที่มีประเด็นปัญหาควรมีการจัดการอภิปราย เพื่อให้ทุกฝ่ายมีการปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อนำไปสู่ข้อยุติ และข้อปฏิบัติในอนาคตต่อไปได้ อีกประการหนึ่งการจัดการดำเนินงานต้องประกอบด้วยการบริหารจัดการที่ดี และการตัดสินใจด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ของหน่วยงานของรัฐเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยการป้องกันอันตรายจากรังสีในการเดินเครื่องใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แผนการป้องกันอันตรายจากรังสี เป็นประเด็นสำคัญ และมีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้แผนการดำเนินการดังกล่าวมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมาย ในการดำเนินการควรจะให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดทำแผนการดังกล่าว ตลอดจนต้องมีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานอย่างละเอียดรอบคอบ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ซึ่งจะทำให้แผนการป้องกันอันตรายจากรังสีที่จัดทำขึ้นได้รับความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่ายและประสบผลสำเร็จ การจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว การจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว เป็นอีกประเด็นที่เป็นที่สนใจของประชาชน ทั้งนี้กากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วที่มีปริมาณรังสีสูงจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สามารถที่จะเก็บไว้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ตลอดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้า และมีหลายแนวทางที่จะจัดการใช้งานของโรงไฟฟ้า และ มีหลายแนวทางที่จะจัดการเก็บอย่างถาวรต่อไป เพื่อมิให้มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในประเด็นของการจัดการกากรังสีสูง ยังคงมารถชะลอการตัดสินใจในรายละเอียดของแนวทางการจัดการกากไว้ก่อนได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ประชาชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับแนวทางดำเนินการยังคงมีความสำคัญเช่นเดียวกันโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของส่วนรวมเป็นสำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคตตลอดไป


อุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


สถิติในรอบ 45 ปี ที่ผ่านมา พบว่าเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีผลกระทบต่อระบบเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูจำนวน 9 ครั้ง แต่อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่นับว่ามีความรุนแรงนั้น ได้แก่ อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอร์แลนด์ประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2522 และอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ประเทศยูเครน ในปี พ.ศ.2529 ซึ่งเป็นอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพียงครั้งเดียวที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต การเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งสองครั้ง มีสาเหตุเกิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติงานเดินเครื่อง โดยเฉพาะอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โมบิลไม่ได้เกิดจากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าตามปกติ แต่เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎระเบียบด้านความปลอดภัยเพื่อดำเดินการทดลองภายในโรงไฟฟ้า ขณะตัดระบบความปลอดภัยทั้งหมดออก ส่งผลให้เกิดระเบิดเนื่องจากมีไอน้ำความดันสูงและเพลิงลุกไหม้ มีเจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิต 31 คน ผู้บาดเจ็บเนื่องจากรังสี 203 คน และต้องอพยพประชาชนโดยรอบรัศมี 30 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าในปี พ.ศ.2546 เมื่ออุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้ผ่านไป 16 ปี องค์การอนามัยโลก (The World Health Organization , WHO) ซึ่งเป็นผู้ติดตามผลกระทบทางรังสีต่อสุขภาพของประชาชน ได้มีการวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่า ในประเทศ Belarus ประเทศ Ukraine และประเทศ Russian Federation ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสารกัมมันตรังสีตกลงสู่พื้นดินในปริมาณสูง มีอัตราการเป็นมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ในเด็กสูงขี้นกว่าอัตราปกตินับตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 เป็นต้นมา ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการรับไอโอดีนรังสี อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ และ โดยปกติจะไม่ทำอันตรายให้ถึงแก่ชีวิต




(โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เซอร์โนบิล ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุ)
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ต่างประเทศ)
สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในต่างประเทศณ สิ้นปี พ.ศ.2547 ทั่วโลกมีการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งสิ้น 441 โรงใน 32 ประเทศ และอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอีก 25 โรง ใน 10 ประเทศ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 18 ของโรงไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดทั่วโลก โดยประเทศลิทัวเนียมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณร้อยละ 79.9 ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด ตามด้วยประเทศฝรั่งเศส สโลวัก เบลเยี่ยม มีสัดส่วน เป็นร้อยละ 77.7 57.4 และ 55.5 ตามลำดับ สำหรับประเทศที่มีจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากที่สุด ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา (104 โรง)ประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งมีการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ( 54 โรงกำลังก่อสร้าง 2 โรง) เกาหลีใต้ (19 โรง กำลังก่อสร้าง 1 โรง) อินเดีย (14 โรง กำลังก่อสร้าง 9 โรง) ไต้หวัน (6 โรง กำลังก่อสร้าง 2 โรง) จีน (9 โรง กำลังก่อสร้าง 2 โรง) ปากีสถาน ( 2 โรง ) และ อิหร่าน (กำลังก่อสร้าง 2 โรง )
สถิติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์(ธันวาคม 2548)เดินเครื่องใช้งานรวมทั้งสิ้น 443 โรง ผลิตไฟฟ้า 369,552 เมกะวัตต์



ข้อได้เปรียบและอุปสรรคของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ข้อได้เปรียบ
1.เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าแข่งกันได้กับโรงไฟฟ้าชนิดอื่น
2.เป็นโรงไฟฟ้าที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
3.เสริมสร้างความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้า เนื่องจากใช้เชื้อเพลิงน้อยทำให้มีเสถียรภาพ ในการจัดหาเชื้อเพลิง และราคาเชื้อเพลิงมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตน้อย


อุปสรรค
1.ใช้เงินลงทุนสูง และจำเป็นต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.จำเป็นต้องพัฒนาและเตรียมการเกี่ยวกับการจัดการกากกัมมันตรังสี การดำเนินงานด้านแผนฉุกเฉินทางรังสี และมาตรการควบคุมความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
3.การยอมรับของประชาชน




การพัฒนาด้านความปลอดภัย

สรุปแนวทางในการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังรุ่นใหม่ในอนาคต ได้ดังนี้1.มุ่งเน้นการใช้ระบบความปลอดภัยธรรมชาติ โดยการออกแบบให้ในสภาวะฉุกเฉิน ระบบความปลอดภัยต่างๆ ทำงานโดยอัตโนมัติด้วยคุณสมบัติทางธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานจักรกลจากระบบภายนอก ทั้งนี้ เพื่อความแน่นอนในการทำงาน และเพิ่มเวลาในการแก้ไขสถานการณ์แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 2.มุ่งเน้นให้การออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ มีการทำงานที่ไม่ซับซ้อน เพื่อให้ง่ายต่อการเดินเครื่องปฏิกรณ์และการซ่อมบำรุง 3.การออกแบบมุ่งเน้นลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 4.มุ่งเน้นให้มีการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังให้เป็นตามมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการก่อสร้างอย่างปลอดภัย ตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานด้านความปลอดภัย 5.สามารถควบคุมและจำกัดขอบเขตของการเกิดอุบัติเหตุขั้นรุนแรงได้ 6.การออกแบบชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความทนทานต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งจากเครื่องปฏิกรณ์ อุบัติเหตุจากธรรมชาติและการก่อวินาศกรรม ดังนั้น ในอนาคตหากประเทศไทยเลือกจะใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สามารถจะเลือกใช้โรงไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ซึ่งมีการออกแบบด้านความปลอดภัยและความเชื่อมั่นในความปลอดภัยสูงขึ้น มีความแน่นอนในการทำงานสูง คุ้มค่าทางเศรษฐกิจการลงทุนและเป็นผลดีด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าหลัก เพื่อรองรับเศรษฐกิจของประเทศได้




กลไกการดูแลความปลอดภัย
กลไกในการกำกับดูแลความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยการควบคุมดูแลความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามมาตรฐานของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศนั้น ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบติดตามควบคุมความปลอดภัยตั้งแต่เริ่มโครงการ ตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้งจนกระทั่งการรื้อถอนเลิกใช้งานโรงไฟฟ้า และให้รวบรวมข้อมูลทางเทคนิคทำในรูปแบบรายงาน เรียกว่า " รายงานการวิเคราะห์ความปลอดภัย "เพื่อประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเป็นรายงานอีกประเภทหนึ่งซึ่งต้องจัดทำเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างปลอดภัย ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุง แยกงานส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์กับงานควบคุมความปลอดภัยออกจากกันเพื่อให้การดำเนินการควบคุมและกำกับดูแลความปลอดภัยเป็นอิสระ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์เพื่อป้องกันความโน้มเอียงที่อาจเกิดขึ้น ตามมาตรฐานความปลอดภัยของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
ข้อดี - ข้อเสียยูเรเนียมหรือพลูโตเนียมเพียง1กิโลกรัมให้พลังงานเทียบเท่าถ่านหิน 3 ล้านกิโลกรัม นอกจากนั้นการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน หรือน้ำมันปิโตรเลียม จะก่อให้เกิดภาวะมลพิษในอากาศถึงวันละ 20,000เมตริกตันในขณะที่ปฏิกิริยาฟิชชันในปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไม่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษในอากาศ และไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้นออกมาแต่การทำเหมืองยูเรเนียม และการสกัดU235ก็สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมของโลกได้ เช่นกันการใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อผลิตไฟฟ้ายังมีข้อเสียอื่นๆอาทิ เช่น น้ำที่ใช้ในการระบายความร้อนของเตาปฏิกรณ์ซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงมาก จะต้องทำให้เย็น ปัญหาของการรั่วไหลของกัมมันตรังภาพรังสี และที่สำคัญที่สุดคือ ปัญหาจาก กากนิวเคลียร์หรือขยะนิวเคลียร์กากนิวเคลียร์ คือ แท่งพลังงานในเตาปฏิกรณ์ที่ใช้หมดแล้วแท่งพลังงานนี้จะมีกัมมันภาพรังสีสูงมาก และเป็นอันตรายอย่างมากกว่าที่กากนิวเคลียร์นี้จะแผ่นกัมมันภาพรังสีหมด จะต้องใช้เวลามากกว่า25,000ปี และในปัจจุบันมนุษย์เราก็ยังไม่มีวิธีที่ดีในการกำจัดกากนิวเคลียร์เหล่านี้


สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลความปลอดภัยในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ ตั้งแต่การออกใบอนุญาตให้มีการใช้ การควบคุมดูแลการใช้ของหน่วยงานต่างๆ จนกระทั้งที่เลิกใช้แล้วให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.2504 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชนทั่วไป นับตั้งแต่วันที่เริ่มก่อตั้ง ปส. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปณิธานที่ตั้งไว้เสมอมา โดยมีภารกิจหลักในปัจจุบันคือ บริหารจัดการความปลอดภัย ในการใช้พลังงานปรมาณูในทางสันติโดยการกำกับ ดูแลการใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในประเทศให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และเกิดความปลอดภัยสูงสุดทั้งกับตัวผู้ใช้และประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ ปส. ทำหน้าที่ในการออกใบอนุญาตการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์และวัสดุอื่นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้กับผู้ใช้วัสดุนิวเคลียร์ รวมถึงมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ที่ได้รับอนุญาตอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งข่างงานเตือนภัยทางรังสีขึ้นโดยการติดตั้งชุดเครื่องวัดรังสีแกมมาเพื่อตรวจวัดรังสีในอากาศ ในทุกภาคของประเทศเก็บตัวอย่าง ฝุ่นกัมมันตรังสี อากาศ ดิน น้ำ และสิ่งแวดล้อม อื่นๆ ทั่วประเทศเป็นประจำเพื่อตรวจวัดปริมาณรังสีที่ปนเปื้อนในธรรมชาติ และยังเป็นการเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉินทางรังสีที่อาจเกิดขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
ไม่เพียงแต่เรื่องการกำกับดูแลความปลอดภัยการใช้พลังงานนิวเคลียร์เท่านั้น ในส่วนของการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ที่ผ่านมา สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีการเผยแพร่ และ ประชาสัมพันธ์ความรู้ไปสู่สาธารณชน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ให้เกิดความเข้าใจในเทคโนโลยีดังกล่าว อันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป ด้วยตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยของประชาชนอยู่เสมอ ปส. จึงมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามปณิธานที่ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ประเทศของเราได้รับประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์อย่างสูงสุด และสามารถก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศได้ในอนาคต


ศัพท์นิวเคลียร์


1.AlARA (อะลารา)คำย่อของวลีภาษาอังกฤษ As Low As Reasonably Achievable ที่แสดงเจตนารมณ์ว่า การได้รับรังสีไม่ว่าในกรณีใด ควรให้ได้รับรังสีน้อยสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2.Alpha ray (รังสีแอลฟา)รังสีที่มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ เกิดจากการสลายของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น เรเดียมเนื่องจากประกอบด้วยโปรตอน 2 ตัว และนิวตรอน2 ตัว (ซึ่งก็คือนิวเคลียสของ ฮีเลียม-4) ทำให้มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกจึงถูกเบนได้ด้วยสนามแม่เหล็ก และสนามไฟฟ้า เนื่องจากรังสีแอลฟาทะลุทะลวงสสารได้เพียงระยะสั้นๆ จึงนำสารกัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยรังสีแอลฟา ไปใช้ในการบำบัดโรคมะเร็ง เพื่อทำลายเนื้อเยื่อร้าย

3.Atom (อะตอม)ส่วนประกอบพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยนิวเคลียส และอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบโคจรรอบนิวเคลียสซึ่งมีประจุบวก คล้ายกับการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน และนิวตรอน โดยมีจำนวนอิเล็กรอนเท่ากับโปรตอน ธาตุแต่ละชนิดจะมีจำนวนโปรตรอนแตกต่างกัน อะตอมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/1,000,000,000,000 เซนติเมตร

4.Background radiation (รังสีพื้นหลัง)รังสีที่มาจากสิ่งแวดล้อมหลายๆ แหล่ง เช่น จากบนโลก (อาหาร น้ำ ร่างกาย วัสดุ ก่อสร้าง) รังสีจากบรรยากาศ (ในรูปของแก็สเรดอน) และรังสีคอสมิกจากอวกาศ นอกจากนี้ยังมีรังสีที่ปนเปื้อนอยู่บนพื้นโลก ซึ่งเกิดจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในอดีตอีกด้วย

5.Beta-ray (รังสีบีตา )อนุภาคอิเล็กตรอน (บีตาลบ -) หรือโพซิตรอน (บีตาบวก+)พลังงานสูงที่ปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมขณะเกิดการสสายกัมมันตรังสี อิเล็กตรอนมีประจุลบในขณะที่โพซิตรอนซึ่งมีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน มีประจุบวก เนื่องจากรังสีบีตามีประจุไฟฟ้า เมื่อเคลื่อนที่ผ่านสสาร เช่น อากาศโลหะ หรือ ร่างกาย จึงสามารถทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนของอะตอมของสสารเหล่านั้นได้

6. Bioassay Technique (เทคนิคการวิเคราะห์ปริมาณโดยชีววิธี)โดยทั่วไปเป็นเทคนิคการวิเคราะห์หาปริมาณสารที่มีในร่างกาย เช่น ยา ยาเสพติด สารกระตุ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในการวัดปริมาณสารรังสีในสิ่งมีชีวิต โดยการวิเคราะห์ปริมาณสารรังสีในของเสียที่ขับถ่ายออกจากร่างกาย

7. Biological half-life (ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ)ระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีในเนื้อเยื่อ อวัยวะหรือร่างกายลดลงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากกระบวนการทางชีวภาพ ได้แก่ กระบวนการสร้าง สลาย และขับถ่ายของร่างกายของร่างกายซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบทางเคมี และสมบัติของนิวไคลด์กัมมันตรังสีนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิตทางกายภาพประมาณ 30 ปี แต่มีครึ่งชีวิตทางชีวภาพเพียง 110 วัน

8. Cesium-137 (ซีเซียม-137)ไอโซเทปของซีเซียมซึ่งมีเลขอะตอมเท่ากับ 55 มีครึ่งชีวิต 30 ปี สลายโดยปล่อยรังสีบีตาและแกมมา เป็นหนึ่งในผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส พบในฝุ่นกัมมันตรังสีที่ตกค้างจากการทดลองลูกระเบิดอะตอม และจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ ถ้าได้รับเข้าสู่ร่างกายจะกระจายไปทั่วร่างกาย แต่จะถูกขับออกโดยกระบวนการทางชีวภาพ ซีเซียม-137 ใช้เป็นตัวชี้บอกปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสีในอาหารส่งออก

9. cobalt-60 (โคบอลต์-60)ธาตุโลหะคล้ายเหล็ก มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 27 ผลิตจากโคบอลต์-59 ซึ่งเป็นธาตุเสถียรที่มีอยู่ในธรรมชาติ แต่เมื่อจับยึดนิวตรอนไว้จะกลายเป็นโคบอลต์-60 ซึ่งเป็นไอโซโทปรับสีที่ให้รังสีบีตาและแกมมา มีครึ่งชีวิต 5.3 ปี เนื่องจากสามารถผลิตได้ในปริมาณมากๆ ด้วยค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก จึงนิยมใช้อย่างแพร่หลายสำหรับเป็นต้นกำเนิดรังสีในการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม

10. Disintegration (การสลายกัมมันตรังสี)กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากนิวเคลียสชนิดหนึ่งที่ไม่เสถียร สลายกลายเป็นนิวเคลียสอีกชนิดหนึ่งที่เสถียรกว่า มี 2 ประเภทหลัก คือ การสลายโดยการปล่อยรังสีแอลฟา และการสลายนี้หากยังคงมีพลังงานเหลืออยู่อีก นิวเคลียสจะปล่อยรังสีแกมมาออกมา

11. Neutron Flux (นิวตรอนฟลักซ์)จำนวนนิวตรอนต่อหน่วยพื้นที่ของลำนิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

12. Nuclear rocket; Nuclear Spacecraft (จรวดนิวเคลียร์หรือยานอวกาศนิวเคลียร์)จรวดหรือยานอวกาศขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีการศึกษา และทดลองมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่มีการปฏิบัติงานจริง

13. Radioactivity (กัมมันตภาพรังสี)การสลายของนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีปลดปล่อยรังสี แอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา ออกมาอย่างทันทีทันใด รังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมา อาจมีครบทั้ง 3 ชนิด หรือเพียงบางชนิด

14. Big Bang (บิกแบง)ทฤษฏีกำเนิดจักรวาล การระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อประมาณหนึ่งหมื่นสี่พันล้านปีในอดีต

15. Fission Nuclear Reaction (ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน)ปฏิกิริยานิวเคลียร์จากการแบ่งแยกนิวเคลียร์ของอะตอมธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม เป็นอะตอมของธาตุที่เบากว่า

16. Fusion Nuclear Reaction (ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน)ปฏิกิริยานิวเคลียร์จากการรวมตัวของอะตอมธาตุที่เบา เช่น ไฮโดนเจนเป็นอะตอมของธาตุที่หนักกว่า เช่น ฮีเลียม

17. USS Nautilus (ยูเอสเอสนอตอลุส)เรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ลำแรกของโลก เป็นของสหรัฐอเมริกา ออกปฏิบัติการทางทะเลครั้งแรกปี ค.ศ. 1955

18. Ns Lenin (เรือตัดน้ำแข็งเลนิน)เป็นเรือแล่นบนผิวน้ำลำแรกของโลก ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศสหภาพโซเวียต (เดิม) ออกปฏิบัติการสู่ทะเลครั้งแรกปี ค.ศ. 1959

19.Cosmic Rays (รังสีคอสมิก)รังสีจากอวกาศซึ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก มีองค์ประกอบโดยประมาณ ได้แก่ โปรตอนร้อยละ 87 รังสีแอลฟาร้อยละ 11 รังสีอนุภาคหนักที่มีเลขเชิงอะตอมระหว่าง 4 ถึง 26 ร้อยละ 1 และอิเล็กตรอนร้อยละ 1

20. Neutrino (นิวทริโน )อนุภาคมีอยู่มากมายทั่วไปในจักรวาล มีมวลน้อยมาก

21.Atomic Clock (นาฬิกาเชิงอะตอม )เครื่องมือ หรืออุปกรณ์บอก หรือกำหนดเวลามาตรฐานอาศัยสมบัติดารสั่น หรือ การปลดปล่อยพลังงาน เป็นคาบที่แม่นยำของอะตอม เช่น สำหรับนาฬิกาอะตอม

22.Radioactive Fallout (ฝุ่นกัมมันตรังสี)กัมมันตภาพรังสีที่เกิดขึ้น หรือหลงเหลืออยู่ หลังการระเบิดทางนิวเคลียร์

23.Tritium (ทริเทียม)ไอโซโทปหนึ่งของะตอมไฮโดรเจนประกอบด้วยโปรตอน 1 ตัว นิวตรอน 2 ตัวในนิวเคลียส เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี มีครึ่งชีวิต 12.3ปี

24.Photon (โฟตอน)อนุภาคของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น อนุภาคของแสง

25.Solar Wind (ลมสุริยะ)กระแสของอนุภาค มีประจุไฟฟ้าพัดออกมาจากดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย โปรตอน และอิเล็กตรอน

Knowledge Center

แหล่งความรู้ของชาวตกมัน

สนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ ก็ทิ้งความคิดเห็นไว้ได้ แล้วจะพยายามหามาให้อ่านกันค่ะ

ระบบลิฟท์

ลิฟท์แบบไฮดรอลิค

แนวคิดของลิฟท์นั้นธรรมดามาก ที่จริงมันก็คือกล่อง ทำไว้สำหรับขนของ โดยผูกกล่องติดไว้กับเชือก หรือ ไฮดรอลิก เพื่อใช้มันยกขึ้นและลงเท่านั้น
อย่างไรก็ตามลิฟท์สมัยใหม่ มีระบบซับซ้อนกว่าสมัยก่อนมาก เพราะต้องบรรทุกผู้โดยสาร และของที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบความปลอดภัย และการเคลื่อนที่ก็ต้องนิ่มนวลขึ้น
เราแบ่งลิฟท์ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
  • ลิฟท์ระบบไฮดรอลิก
  • ลิฟท์ที่ใช้สายเคเบิล
แบบแรก ใช้ยกสิ่งของที่มีขนาดใหญ่และหนัก ภายในกระบอกไฮดรอลิกบรรจุของเหลวที่อัดตัวไม่ได้ ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นและลงโดยการอัดของเหลวเข้าไปในกระบอก คุณสามารถมองเห็นระบบการทำงานดังรูป



กดที่ปุ่ม Going up เมื่อต้องการขึ้น และ Going down เมื่อต้องการลง
ระบบไฮดรอลิก แยกเป็น 3 ส่วนคือ
  • ถังบรรจุน้ำมันไฮดรอลิก
  • ปั๊มได้กำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า
  • วาวล์อยู่ระหว่างถังบรรจุกับกระบอกไฮดรอลิก
เมื่อต้องการให้ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้น ให้ปิดวาวล์ เปิดปั๊มขับดันของเหลวจากถังเก็บไปที่กระบอกไฮดรอลิก ดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ และยกห้องลิฟท์ขึ้น
ขณะที่ห้องถูกยกขึ้นไปถึงชั้นที่ต้องการ ระบบควบคุมจะส่งสัญญาณไปที่มอเตอร์เพื่อหยุดปั๊ม ทำให้ไม่มีของเหลวไหลเข้าไปในกระบอก เมื่อวาวล์ยังปิดอยู่ ห้องจะนิ่งอยู่ที่ชั้นนั้น
เมื่อต้องการให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลง ให้เปิดวาวล์ ของเหลวที่อยู่ในกระบอกจะไหลกลับเข้าสู่ถังเก็บ โดยใช้น้ำหนักของห้องลิฟท์กดลูกสูบลง ห้องจะค่อยๆเคลื่อนที่ลง และหยุดในระดับที่ต้องการ ระบบควบคุมทำการปิดวาวล์อีกครั้ง
ระบบนี้ค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน
ข้อดีและเสียของระบบไฮดรอลิก
ข้อดี : ใช้แรงน้อยแต่ได้แรงมาก
ข้อเสีย :
  1. ขนาดของอุปกรณ์ ที่มีขนาดใหญ่และยาว ถ้าคุณต้องการยกขึ้นสูง ก้านลูกสูบต้องยาวมาก ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งลูกสูบยาวมากขึ้น ความแข็งแรงก็น้อยลง และสามารถแตกหักได้ง่าย
  2. ตัวกระบอกต้องฝังลงใต้ดิน นั่นหมายความว่า ถ้าทรงกระบอกยาวมาก ยิ่งต้องขุดลงใต้ดินลึกมาก ค่าใช้จ่ายย่อมเพิ่มขึ้นแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณยกห้องขึ้นสูง 10 ชั้น ต้องขุดลงไปใต้ดินลึกอย่างน้อย 9 ชั้นเป็นต้น
  3. ใช้พลังงานสิ้นเปลืองมากและไม่มีประสิทธิภาพ เพราะสูญเสียไปกับการหมุนมอเตอร์ และขับปั๊มไฮดรอลิก

ลิฟท์ที่ใช้สายเคเบิล
ลิฟท์แบบนี้นิยมใช้กันมากสุด หัองลิฟท์ถูกยกขึ้นและลงโดยสายเคเบิล ที่คล้องผ่านรอก (Sheave) 3 ดังรูป เมื่อรอกหมุนจะฉุดให้สายเคเบิลเคลื่อนที่




เพลาของรอกต่อเข้ากับมอเตอร์ไฟฟ้า (2) ถ้าต้องการทดรอบให้ความเร็วลดลง ต้องมีระบบเกียร์ ทั้งหมดตั้งอยู่ในห้องควบคุม (1)
สายเคเบิลคล้องผ่านรอก ด้านหนึ่งยึดเข้ากับตู้ อีกด้านหนึ่งยึดเข้ากับน้ำหนักถ่วง (4) ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 40 % ของน้ำหนักห้องที่บรรทุกสูงสุด ในกรณีที่ห้องบรรทุกน้ำหนักเท่ากับ 40 % ของน้ำหนักสูงสุด มันจะเท่ากับน้ำหนักถ่วงพอดี
ความสมดุลที่เกิดขึ้นนี้ ช่วยประหยัดพลังงานได้ มอเตอร์ใช้แรงขับเคลื่อนเพียงเล็กน้อย เพื่อชนะแรงเสี่ยดทาน ก็สามารถยกห้องขึ้นมาได้
ห้องบรรทุก กับน้ำหนักถ่วง เคลื่อนที่อยู่ในรางเลื่อน (guide rails) (5) ช่วยไม่ให้น้ำหนักเลื่อนเหวี่ยงไปมาได้
ลิฟท์ที่ใช้สายเคเบิล สามารถประยุกต์การใช้งานได้หลากหลายกว่าลิฟท์ระบบไฮดรอลิก และมีประสิทธิภาพสูงกว่าด้วย

ระบบความปลอดภัย

ถ้าคุณได้ดูหนังเรื่อง speed ที่คนร้ายวางระเบิดสายเคเบิล ทำให้ลิฟท์ตกลงมา คนโดยสารร้องวีดว้ายกันอย่างตระหนก แต่ในโลกของความเป็นจริง ลิฟท์มีระบบความปลอดภัยอย่างดียิ่ง สามารถป้องกันไม่ให้ลิฟท์ตกลงมาอย่างรวดเร็ว

อุปกรณ์ชิ้นแรก คือสายเคเบิล สายนี้ทำจากโลหะดึงให้เป็นเส้น และถักเป็นสาย แค่เส้นเดียวสามารถรับน้ำหนักของลิฟท์และน้ำหนักถ่วงได้อย่างสบาย สายเคเบิลที่ยึดลิฟท์ไว้มีหลายเส้น แม้เส้นใดเส้นหนึ่งขาดไป เส้นที่เหลือสามารถรับน้ำหนักได้

ถึงแม้ว่าสายเคเบิลทุกเส้นขาด ยังมีระบบความปลอดภัยอีกอย่างหนึ่ง คือระบบเบรก ที่จะช่วยชลอหรือหยุดลิฟท์

ระบบเบรกใช้อุปกรณ์เรียกว่า โกเวอร์เนอร์ (governer) ขอทับศัพท์ภาษาอังกฤษ สายเคเบิลที่พันรอบโกเวอร์เนอร์ แยกออกจากสายเคเบิลที่ใช้ยึดลิฟท์ สมมติว่าสายเคเบิลทุกเส้นขาด ห้องบรรทุกตกลงอย่างรวดเร็ว การทำงานของโกเวอร์เนอร์ เป็นดังนี้




เมื่อคุณกดปุ่ม Play จะได้เห็นการทำงานของโกเวอร์เนอร์

ก้อนน้ำหนัก 2 อันที่อยู่ปลายแขน สามารถเคลื่อนที่ได้ ตำแหน่งปกติอยู่ดังรูป เพราะถูกสปริงรั้งไว้

แต่เมื่อโกเวอร์เนอร์หมุน แรงหนีศูนย์กลางพยายามผลักก้อนน้ำหนักให้ออกไปในแนวรัศมี ต่อต้านกับแรงของสปริง ในกรณีที่เป็นการเคลื่อนที่ปกติ น้ำหนักสองก้อนนี้ยังเคลื่อนที่ออกไปได้ไม่มากนัก แต่ถ้าลิฟท์ตกลงอย่างรวดเร็ว แรงหนีศูนย์จะผลักก้อนน้ำหนักให้ออกไปในแนวรัศมี จนถึงขอบด้านนอกของโกเวอร์เนอร์ ตะขอเกี่ยวเข้ากับขอบด้านนอก ทำให้ล๊อคการหมุน

สายเคเบิลของโกเวอร์เนอร์ต่อเข้ากับห้องบรรทุก และแขนกระดก เมื่อลิฟท์เคลื่อนที่ปกติ ตำแหน่งแขนกระดกอยู่ดังรูป เพราะมีแรงสปริงดึงไว้ แต่เมื่อโกเวอร์เนอร์ถูกล๊อคอย่างกระทันหัน จะเกิดแรงกระฉาก ดึงแขนกระดกขึ้น และดันให้ระบบเบรกทำงานดังรูป




กดปุ่มสีน้ำเงินด้านล่าง คุณจะได้เห็นการเคลื่อนไหวและการทำงานของระบบเบรก

เบรกดังรูป คล้ายกับลิ่ม เมื่อแขนกระตุกขึ้น มันจะทำให้ลิ่มเคลื่อนที่ และกดผ้าเบรกเข้ากับราง ทำให้ลิฟท์ชะลอและหยุดการเคลื่อนที่
ลิฟท์บางตัวมีระบบเบรกไฟฟ้า ซึ่งจะทำงานเมื่อไฟดับ เพื่อปัองกันไม่ให้มีการใช้ลิฟท์ เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้านั่นเอง

ถ้าระบบเบรกพัง และสายเคเบิลก็ยังขาด คุณก็ยังไม่ต้องตกใจ ข้างล่างลิฟท์ มีตัวกันกระแทก (shock absorber) ทำจากกระบอกไฮดรอลิก ภายในบรรจุน้ำมันไฮดรอกลิก เมื่อห้องบรรทุกตกลงมา มันช่วยดูดซับแรงกระแทกได้ระดับหนึ่ง


ลิฟท์สมัยใหม่

ปัจจุบัน ลิฟท์เกือบทั้งหมดใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม มีหน้าที่ประมวลผลคำสั่ง ที่ได้รับจากผู้โดยสาร และเปลี่ยนเป็นคำสั่งควบคุมระบบต่างๆภายในลิฟท์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณต้องการไปชั้น 7 คุณกดปุ่มหมายเลข 7 ในลิฟท์ คอมพิวเตอร์รับคำสั่ง แปลงเป็นคำสั่งควบคุม เมื่อลิฟท์เคลื่อนที่ถึงชั้น 7 คอมพิวเตอร์สั่งให้ลิฟท์ชลอความเร็ว และหยุดอย่างนิ่มนวล เปิดประตูให้คุณออก เป็นต้น

ผู้ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ลิฟท์มีความฉลาดขึ้น มันสามารถทราบได้ว่า ชั้นใดมีคนต้องการใช้มากที่สุด ณ เวลาเท่าไร คอมจะสั่งให้ลิฟท์ไปรออยู่ที่ชั้นนี้

ระบบควบคุมยังมี โลดเซนเซอร์ ซึ่งให้ข้อมูลกับคอมว่า น้ำหนักบรรทุกพอหรือเลยไปแล้ว ถ้าน้ำหนักบรรทุกเกิน มันจะร้องเป็นเสียงเตือน และหยุดการปิดประตู ปกติ ผู้โดยสารทราบได้เอง และต้องเสียสละเดินออกไปสักหนึ่งหรือสองคน ลิฟท์จึงเคลื่อนที่ได้

ประตูอัตโนมัติ
ประตูที่ปิดเปิดได้เอง มีให้เห็นกันจนเคยชินในห้างสรรพสินค้า ช่วยให้ผู้บริโภคสะดวกไม่ต้องเปิดปิดประตู อย่างไรก็ตาม ประตูอัตโนมัติของลิฟท์ไม่ได้ต้องการแต่ความสะดวกสบายเท่านั้น มันมีไว้ป้องกันอันตรายของผู้โดยสาร ที่อาจร่วงลงไปในร่องลิฟท์ได้




กดที่ปุ่ม close เมื่อต้องการปิด และ ปุ่ม open เมื่อต้องการเปิด


มอเตอร์ไฟฟ้าต่อเข้ากับแขนของประตู ซึ่งทำให้มันเปิดและปิดได้ดังรูป
เมื่อมอเตอร์หมุนล้อ มันจะดันแขน ให้ประตูเลื่อนเปิดหรือปิด โดยปกติ ลิฟท์จะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนที่อยู่ตรงขอบประตู เมื่อคนยังเดินผ่านประตูอยู่ มันยังไม่ปิด ไม่เช่นนั้น ประตูสามารถหนีบผู้โดยสารได้
ประตูของลิฟท์มี 2 ส่วน ส่วนแรกเคลื่อนไปพร้อมกับลิฟท์ อีกส่วนหนึ่งอยู่ที่ชั้นนั้นๆ เมื่อลิฟท์ยังเคลื่อนมาไม่ถึง ประตูส่วนที่สองยังปิดอยู่ แต่พอลิฟท์มาถึง มอเตอร์หมุนเปิดประตูส่วนใน ระบบกลไก จะเชื่อมให้สามารถเปิดประตูด้านนอกด้วย ดังนั้น เมื่อคุณเห็นประตูลิฟท์เปิด มันมีอยู่ 2 ส่วนนะครับ
ลิฟท์มีความสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตของคนปัจจุบันไปแล้ว ในเมืองใหญ่ ที่มีตึกสูงมากมาย ถ้าไม่มีลิฟท์ คงต้องเดินขึ้นกันจนเมื่อยน่อง หรือแม้แต่ตึกสูงไม่กี่ชั้น ก็ยังต้องมีลิฟท์ ไว้สำหรับคนพิการ และพวกขี้เกียจเดินเป็นต้น

หาความรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ : Related Articles

How Space Elevators Will Work
How Escalators Work
How Electric Motors Work
How Hydraulic Machines Work
How a Block and Tackle Works
How Skyscrapers Work
How Brakes Work
How Force, Power, Torque and Energy Work

ElevatorWorld.com
The History of Elevators
General Elevator and Escalator Information
Schindler Elevators
Otis Elevator Company
The Elevator Escalator Safety Foundation
In a falling elevator, could you save yourself by jumping up at the last minute?